สถิติ
เปิดเว็บ | 12/09/2011 |
อัพเดท | 16/12/2019 |
ผู้เข้าชม | 342,081 |
เปิดเพจ | 586,660 |
สินค้าทั้งหมด | 30 |
บริการ
ลิ้งก์ตัวอักษร
สมเด็จวัดระฆัง ยุคต้น
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
802
-
เข้าชม
2,676 ครั้ง
รุ่น
Somdej Rakhang Temple by Somdej Buddhajarn Toh.
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
15/08/2019 14:24
-
รายละเอียดสินค้า
สมเด็จวัดระฆังยุคต้น
สมเด็จวัดระฆังองค์นี้ เป็นพระยุคต้นที่ปลุกเสกปริมาณน้อยและปลุกเสกด้วยมือองค์เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารโต โดยก่อนการปลุกเสกจะโรยผงพุทธคุณจะเห็นเป็นเม็ดๆดังภาพ และถือขึ้นมาปลุกเสกในมือทีละองค์โดยใช้นิ้วหัวแม่มือวางกดไว้ตรงหนาพระจนเป็นรอยมือแบนราบเป็นเงาเห็นได้ชัดดังในภาพ องค์นี้เก่าแท้ดูง่าย ถืงแม้จะไม่ใช่พิมนิยม แต่ก็ถือเป็นพระที่ถูกสร้างมาด้วยพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อสำหรับเจ้าของตัวจริงมาเก็บเอาไว้รักษาเพื่อความเป็นศิริมงคลและเสริมความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิตของผู้ถือครองและไม่สามารถประเมินค่าได้
ความรู้เรื่องการสร้างพระเนื้อผง
ถือเป็นขบวนการหนึ่งในศาสตร์ศิลปแขนงวิชาการปั้นปูน ซึ่งมวลสารในการปั้นมีส่วนผสมของปูนเป็นหลักใหญ่ประสานเนื้อด้วยยางไม้ กาวหนัง น้ำอ้อยหรือขี้ผึ้งชั้นดี และเป็นวิทยาการที่ศิลปินกรีก-โรมันกับอินเดียดึกดำบรรพ์ได้ใช้ปั้นพระพุทธ รูปก่อนที่มีการนำกรรมวิธีนี้มาใช้ในการสร้างพระเครื่อง
พระเครื่องเนื้อผง ที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศคือ พระกรุวัดทัพข้าว จังหวัดสุโขทัย รองลงมาคือ พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ สร้างโดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๔ หรือที่รู้จักกันในนาม พระสังฆราชสุกไก่เถื่อน และพระสมเด็จอรหังนี้ถือเป็นต้นแบบในการสร้างพระเนื้อผง รูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ซึ่งสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ส.๒๓๖o
สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) นี้ ท่านเป็นพระอาจารย์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เคารพเป็นอย่างยิ่ง และถือเอาวัตรปฏิบัติ ตลอดจนวิธีการสร้างพระขององค์พระอาจารย์องค์นี้มาสร้างสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จบางขุนพรหม และพระสมเด็จเกศไชโย อันนับเป็นพระเนื้อผงที่ได้รับความศรัทธานิยมสูงสุดมาโดยตลอด ดังนั้นขั้นตอนกรรมวิธีการสร้างพระเนื้อผงในลำดับต่อๆมา จึงได้ยึดเอาขั้นตอนกรรมวิธี การจัดเตรียม การสร้าง และการปลุกเสก ตามอย่างสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นปัจจัยหลักปฏิบัติ
การจัดเตรียมวัสดุ เป็นที่ทราบกันดีว่ามวลสารหลักในพระเนื้อผงก็คือ ผงปูนขาว ซึ่งโบราณจะใช้เปลือกหอยมาเผาไฟ แล้วบดให้ละเอียด เรียกว่า “ผงปูนเปลือกหอย” ซึ่งมีคุณสมบัติ เช่นเดียวกัน
เมื่อได้มวลสารหลัก ก็จัดเตรียมผงที่เป็นมงคลต่างๆ อาทิเช่น ว่านดอกไม้ แร่ทรายเงิน ทรายทอง วัสดุศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลทั้งหลายที่เห็นสมควรนำมาเป็นส่วนผสมนำมาบดเป็นผง เป็นต้น
สิ่งที่ช่วยประสานเนื้อผง และทัพสัมภาระทั้งหลาย ให้เกาะติดเป็นเนื้อเดียวกันในสมัยโบราณจะใช้กล้วยน้ำ และน้ำมันตังอิ๊ว (กล้วยน้ำเป็นคำโบราณ หมายถึง กล้วยน้ำว้า น้ำมันตังอิ๊วเป็นยางไม้ชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน ทำให้เกิดความเหนี่ยว สำหรับยึดตัวของมวลสารต่างๆให้ติดกัน)
จากสูตรการสร้างพระเนื้อผงของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี (ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้าง “สูตรนิยม” หรือ “สูตรครู” ในการสร้างพระเนื้อผงต่อๆมา) และในมวลสารของพระเครื่องที่สมเด็จโตสร้าง ท่านให้ความสำคัญกับธาตุแท้แห่งคุณวิเศษ คือ ผงวิเศษ ๕ ประการ อันประกอบด้วย ผงปถมัง อิธเจ มหาราช พุทธคุณ และตรีนิสิงเห ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นชื่อของผงแต่ละชนิดแล้วนำมารวมผสมคลุกเคล้ากัน หากแต่เป็นผงชุดเดียวกันที่ผ่านกรรมวิธีซับซ้อนถึง ๕ ขั้นตอนในการสร้าง โดยเริ่มต้นที่การสร้างผงปถมังก่อน แล้วเอาผงปถมังนั้นมาทำเป็นผงอิธะเจ แล้วสร้างต่อเนื่องจากผงเดิมจนครบกระบวนการทั้ง ๕ อันนับเป็นภูมิปัญญาและสมบัติล้ำค่าต่อมวลมนุษยชาติสืบมา ได้รับรู้ ศึกษากรรมวิธี และนำเป็นต้นแบบที่ดีในการสร้างวัตถุมงคลเนื้อผง
----------------------------------------------------------------------------------------------
สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง